ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กิจกรรมที่ ๓ เวทีเรียนรู้ติดตามผลการดำเนินงานวิจัยและแตกกรอบประเด็นการศึกษา

เมื่อวันที่  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐
เวลา ๑๐.๐๐ น.  - ๑๕.๐๐ น. 
สถานที่ สวนสี่พี่กะน้องบ้านรงระ  
---------------------------------


กลุ่มเป้าหมาย  จำนวน  ๑๐  คน
-ผู้ประสานงานศูนย์วิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน  ๑  คน
-นักวิจัยในโครงการ  จำนวน   ๙  คน 




ผมมีโอกาส ได้พูดคุย พบปะ พี่น้องพัฒนากร ทั้ง รุ่นกลาง และรุ่นใหญ่ มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ ร่วมกัน ในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้ชื่อโครงการวิจัยสร้างกระบวนการเรียนรู้สร้างสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ให้กับประชาชนในพื้นที่อำเภอห้วยทับทันและอำเภอปรางค์กู่ ซึ่งโครงการ นี้  ผมรับผิดชอบเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการในครั้งนี้ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการแตกกรอบประเด็น ในการศึกษาข้อมูล  และเพื่อวางแผนในการดำเนินงานติดตามสนับสนุนโครงการย่อยในพื้นที่  จำนวน  ๕  โครงการ  ให้สามารถขับเคลื่อนและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ  


นายรุ่งวิชิต  คำงาม ผู้ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ  ในฐานะวิทยากร ในวันนี้  ได้นำที่ประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแตกกรอบการศึกษา  โดยใช้วัตถุประสงค์การวิจัย เป็นตัวตั้ง  โดยมีรายละเอียด ที่สำคัญดังนี้  

 

วัตถุประสงค์ ที่  ๑
เพื่อศึกษาบริบทการเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพของชุมชน ปัญหา ข้อจำกัด และศักยภาพในการ

สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพชุมชนในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ

วัตถุประสงค์ข้อนี้ ทีมวิจัยได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และกำหนดกรอบแนวคิดในการศึกษา ตามประเด็น  ประกอบด้วย 
(๑) สถานการณ์ระดับจังหวัด  กรอบในการศึกษาประกอบด้วย
   

๑.๑ นโยบายจังหวัดและแผนพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ  
๑.๒ ข้อมูลทั่วไปของจังหวัด
      -ด้านเศรษฐกิจ
      -ด้านสังคม
      -ด้านวัฒนธรรม
     -ฐานทรัพยากร
๑.๓ การประกอบอาชีพของชาวจังหวัดศรีสะเกษ
      -พัฒนาการการประกอบอาชีพของชาวจังหวัดศรีสะเกษ จากอดีตถึงปัจจุบัน
      -ปัญหา การประกอบอาชีพ
      -ศักยภาพการประกอบอาชีพ
      -มุมมองอาชีพ  มองบนฐานการวิเคราะห์ บนฐาน การเกษตร  การแปรรูป  และการท่องเที่ยวชุมชน   



(๒)สถานการณ์ระดับอำเภอ  ประกอบด้วยอำเภอห้วยทับทัน และอำเภอปรางค์กู่ 
    
  ๑.๑ ข้อมูลทั่วไปของอำเภอ
      -ด้านเศรษฐกิจ
      -ด้านสังคม
      -ด้านวัฒนธรรม
     -ฐานทรัพยากร
    ๑.๒ การประกอบอาชีพของชาวอำเภอ (ห้วยทับทัน และปรางค์กู่)
      -พัฒนาการการประกอบอาชีพของชาวจังหวัดศรีสะเกษ จากอดีตถึงปัจจุบัน
      -ปัญหา การประกอบอาชีพ
      -ศักยภาพการประกอบอาชีพ
      -มุมมองอาชีพ  มองบนฐานการวิเคราะห์ บนฐาน การเกษตร  การแปรรูป  และการท่องเที่ยวชุมชน   

(๓)แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
    ๓.๑แนวคิดเศรษฐกิจฐานราก
    ๓.๒แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
    ๓.๓แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน
    ๓.๔แนวคิดธุรกิจชุมชน
 

วัตถุประสงค์ที่ ๒เพื่อศึกษาการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างสัมมาชีพของชุมชนบนฐานบริบทการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ
          วัตถุประสงค์ข้อนี้ ทีมวิจัยได้แลกเปลี่ยนกันและกำหนดกรอบการศึกษา อยู่  ๒  ระดับ  ได้แก่
          ระดับที่ ๑
            กระบวนการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น มีกระบวนการดังนี้

           การระบุปัญหาชุมชน -----พัฒนาโจทย์วิจัย---การพัฒนาข้อเสนอโครงการ---การสร้างนักวิจัย
           การจัดเก็บข้อมูล----การวิเคราะห์ข้อมูล----การลงมือปฏิบัติการ  ------การสรุปผลการวิจัย 

           ซึ่งโครงการวิจัยชุด ฯ  ได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้  สำหรับทุกพื้นที่วิจัยที่เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ 

           ระดับที่ ๒  การเรียนรู้ในระดับพื้นที่ หรือเชิงประเด็น
            โครงการย่อยประกอบด้วยประเด็นงาน ๕ ประเด็น
            ผ้าไหม-----วัว----------ไม้ผล--------การจัดการองค์กร------การจัดการหนี้สิน  

            ซึ่งทั้ง  ๕  ประเด็นงานนี้  มีกรอบในการเรียนรู้ ด้วยกัน ดังนี้ 
            (๑)แนวคิดการเรียนรู้
               -แนวคิด
               -วัตถุประสงค์
               -บทวิเคราะห์
            (๒)การจัดกระบวนการเรียนรู้

                -รูปแบบการเรียนรู้
                -วิธีการเรียนรู้
               -เครื่องมือการเรียนรู้
                -เนื้อหาการจัดการเรียนรู้ 

             (๓)ปฏิบัติการเรียนรู้
               -ระดับปัจเจกบุคคล
               -ระดับองค์กร
               -ระดับเครือข่าย

              (๔) ผลลัพธ์จากการจัดการเรียนรู้
               -ระดับผลผลิต
               -ระดับผลลัพธ์
              -ระดับผลกระทบ
               -มิติเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม 


        
3) เพื่อศึกษาและติดตามสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดสัมมาชีพชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน ในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่และอำเภอห้วยทับทันจังหวัดศรีสะเกษ
 ในวัตถุประสงค์นี้ ทีมวิจัย ได้กำหนดกรอบในการติดตาม  บนฐาน ความคิด การติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการเรียนรู้ และเสริมพลังชุมชน  โดยมีฐานคิดการติดตาม  ตามแผนผัง ใน  PPT  ตามรายละเอียด  ดังนี้  



ทั้งนี้  ในการติดตามโครงการวิจัยครั้งที่  ๑
         มอบหมายที่วิจัย ติดตามผล  ในบันไดขั้นที่  ๑  ตัวชี้วัด  ๔  เรื่อง  ได้แก่
 (๑)โครงการ ฯ มีทีมวิจัย  วัดจำนวนนักวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ (ขอรายชื่อนักวิจัยที่เป็นตัวจริง  หรือเปลี่ยนแปลง ตามที่ชุมชนขอปรับปรุงข้อมูล )
(๒)โครงการวิจัย มีการจัดการข้อมูล  กรอบแนวคิดในการศึกษา ตัวชี้วัด  กรอบแนวคิดสมบูรณ์ ครบถ้วน ตามวัตถุประสงค์การศึกษา 
(๓)โครงการวิจัยฯ   มีการนำกรอบการศึกษา  ทุกวัตถุประสงค์ มา จัดทำประเด็นคำถาม สามารถจัดการข้อมูล  จนพร้อมที่จะ จัดเก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์  
(๔) โครงการวิจัยกำหนดแผนการปกิบัติการ  ที่พร้อมแปลงสู่การปฏิบัติการได้ 


ก่อนปิดการประชุมที่ประชุมมีมติ  มอบหมาย  ให้ทีมวิจัย ได้มอบหมาย ประเด็น  ในการศึกษาข้อมูลให้แก่ทีมวิจัย  ดังนี้ 
ประเด็น  ข้อมูลจังหวัด  มอบหมาย  คุณบุญธรรม  จำปาสุข
         ประเด็นข้อมูล อำเภอปรางค์กู่  มอบหมายคุณสุพัฒน์  ยงกุล  คุณบุษดา ไชยภา
         ประเด็นข้อมูล อำเภอห้วยทับทัน มอบหมายคุณ สรรณ์ญา กระสังข์ /คุณสุรัตน์ อินทร์แก้ว
          ประเด็นกรอบแนวคิด  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  ดังนี้
(๑)แนวคิดสัมมาชีพชุมชน  คุณนุกูลกิจ  ทวีชาติ
         (๒)แนวคิดเศรษฐกิจฐานราก 
คุณสุพัฒน์  ยงกุล
          (๓)แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  คุณสุรัตน์  อินทร์แก้ว
         (๔)แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน  คุณบุษดา  ไชยภา
          (๕)แนวคิดธุรกิจชุมชน  นายสรรณ์ญา  กระสังข์  
นัดหมายประชุมติดตามผล ในอีก  ๑  เดือนข้างหน้า  ในเดือนพฤศจิกายน  ๒๕๖๐  
เมื่อทุกฝ่ายเข้าใจอย่างดีแล้ว  จึงปิดการประชุม
         
ปิดประชุมเวลา  ๑๕.๐๐ น.


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้