ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุปบทเรียน การขับเคลื่อน ๑ ครัวเรือน ๑ สัญญา อำเภอห้วยทับทัน

ถอดบทเรียนสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนประจำปี 25๖๐บ้านหนองฮะ หมู่ที่ ๓ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ........................................................................1. ความเป็นมาของโครงการกรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่ง ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ จึงกำหนดนโยบายสนับสนุนให้หมู่บ้าน/ชุมชน มีการจัดตั้งกลุ่มองค์กรกองทุนการเงินชุมชนขึ้น เพื่อให้ชุมชนได้ดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง ในปัจจุบันพบว่าการดำเนินงานกองทุนมีความแตกต่างกันหลายรูปแบบตามบริบทของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนบางกองทุนมีความเติบโต บางกองทุนล้มหายไป ดังนั้นกรมการพัฒนาชุมชน จึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมการบูรณการกลุ่มองค์กร กองทุนการเงินในชุมชนให้มีการเชื่อมโยงการบริหารจัดการร่วมกัน เพื่อให้ชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและชุมชนในรูปแบการจัดตั้งเป็นสถาบันการจัดการทุนชุมชน           2. กระบวนการและขั้นตอนการขับเคลื่อนสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน              2.1 กระบวนการดำเนินการขับเคลื่อนระดับหมู่บ้าน                   1) จัดเวที/ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน แก่ผู้นำและคนในชุมชนให้เข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและพัฒนาหมู่บ้านให้บรรลุเป้าหมาย                    2) แต่งตั้งคณะทำงานขึ้น 1 คณะ โดยบูรณาการจากภาคีทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาแก้ไขปัญหาของชุมชนในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยร่วมกันจัดทำฐานข้อมูล หนี้สินของชุมชนในด้านต่าง ๆ                   3) จัดเวทีประชาคมบริหารจัดการข้อมูล (DATA) ของหมู่บ้าน เช่น ข้อมูล จปฐ., ข้อมูล กชช.2 ค, ข้อมูลแผนชุมชน, ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ (อาชีพ), ข้อมูลด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ  เพื่อวิเคราะห์แนวโน้ม  แนวทางในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
             2.2 ขั้นตอนการขับเคลื่อนสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน                   ขั้นตอนการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน                   1) สร้างความรู้ ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน โดยกรมการพัฒนาชุมชนกำหนดให้มีการสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน  ในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                    2) ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะทำงาน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ตามหลักสูตรให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงาน                   3) ศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบ  ที่มีผลการดำเนินงาน สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนดีเด่นบ้านยางกระเดา อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี                   4) ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามแนวทางสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน  โดยให้มีการเลือกคณะกรรมการบริหารงาน และวางแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนงาน มุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมาย  ๑ ครัวเรือน  ๑ สัญญา               ขั้นตอนการบริหารจัดการหนี้            ๑. อำเภอกำหนดแผนการดำเนินงานกิจกรรมสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบริหารจัดการหนี้  สำนึกดี แผนดี  บริหารหนี้ได้ และรายงานให้จังหวัดทราบ            ๒. จังหวัดรวบรวมแผนการดำเนินกิจกรรม และแจ้งกำหนดการดำเนินกิจกรรมสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บริหารจัดการหนี้ สำนึกดี แผนดี บริหารหนี้ได้ให้กรมการพัฒนาชุมชน            ๓. อำเภอและคณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเตรียมความพร้อมดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้                (๑) อำเภอดำเนินการประสานและสนับสนุนให้คณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนมีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน                (๒) คณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนประชุมวางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานสถาบันการจัดการทุนชุมชนและมอบภารกิจงานให้คณะกรรมการฯ                (๓) คณะกรรมการสถาบันการจัดการทุนชุมชนดำเนินการสำรวจ/ตรวจสอบข้อมูลลูกหนี้ทั้งหมกของกลุ่ม/องค์กร/กองทุนการเงินที่เป็นสมาชิกของสถาบันฯ พร้อมจัดทำฐานข้อมูลลูกหนี้ของคนในชุมชนเป็นรายครัวเรือน                                                      (๔) คณะกรรมการสถาบันการจัดการทุนเงินชุมชนวิเคราะห์ข้อมูลลูกหนี้ และจัดงบประเภทลูกหนี้                (๕) คณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นหนี้ลงทะเบียนครัวเรือนเพื่อเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการหนี้          ๔ คณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนดำเนินการบริหารจัดการหนี้ โดยวิธีการปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้               (๑) เจรจาต่อรองระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้(กองทุนชุมชน) เพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน               (๒) โอนภาระหนี้สินของลุกหนี้ที่เข้ารับการปรับโครงสร้างหนี้ให้มาอยู่ที่กลุ่ม/องค์กร/กองทุนการเงินที่เป็นสมาชิกของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ( หากลุ่ม/องค์กร/กองทุนการเงินที่รับผิดชอบเพียงกองทุนเดียว)               (๓) ปรับสัญญาเงินกู้ทั้งหมดให้เหลือ ๑ สัญญา รวมเงินต้นทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย ให้เป็น ๑ ครัวเรือน ๑ สัญญา
         ๕ อำเภอดำเนินกรจัดกิจกรรมรวมสถาบันการจัดการหนี้ สำนึกดี แผนดี บริหารหนี้ได้
                (๑) อบรมให้ความรู้การสร้างวินัยทางการเงิน สำนึกดี  แผนดี บริหารหนี้ได้เนื้อหาประเด็นดังนี้                     -ชี้แจงเกณฑ์การเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการหนี้ให้แก่ครัวเรือนเป้าหมาย                     - การวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน                     - สร้างแรงจูงใจปรับพฤติกรรมการเงิน                     - ส่งเสริมการออม                     - การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                     - การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง                 (๒) ดำเนินการประชุมวางแผนการบริหารจัดการหนี้ของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน เนื้อหาประเด็น ดังนี้                   - จัดทำแผนการบริหารจัดการหนี้                   - คัดเลือกโครงการ/กิจกรรมในแผนการบริหารจัดกาหนี้ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการบริหารจัดการหนี้                 (๓) คณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน ประชุมสมาชิกจัดทำรายละเอียดโครงการและแนวทางกิจกรรมการบริหารจัดการหนี้ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ (เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และสามารถสนับสนุนให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น                (๔) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมแจ้งจังหวัด เพื่อขออนุมัติดำเนินการจากจังหวัด                (๕) คณะกรรมการสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนดำเนินการโครงการ/กิจกรรมการบริหารจัดการหนี้          ๔.๖ การติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน                   - กรม/จังหวัด ดำเนินการติดตามสนับสนุนและประเมินผลการดำเนินงาน          ๔.๗ การรายงานผล                (๑) อำเภอสรุปรายงานผลการดำเนินงาน และรายงานผลให้จังหวัดทราบ                (๒) จังหวัดรวบรวมและสรุปรายงานผลให้กรมฯทราบ และบันทึกรายงานในระบบ BPM  ภายในเดือน กรกฎาคม ๒๕๖๐           3. ผลสัมฤทธิ์ของหมู่บ้านต้นแบบฯ              สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้วยทับทัน และหน่วยงานภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ ท้องถิ่น ชุมชนได้บูรณาการ การพัฒนาสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน บ้านหนองฮะ หมู่ที่ ๒ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้ครอบคลุมทุกมิติที่มีความสอดคล้องกับความต้องการ การแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน ดำเนินงานตามกรอบแนวทางที่กำหนดจนบรรลุเป้าหมาย สรุปการขับเคลื่อนหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้                    3.1 การบริหารจัดการ ๑ ครัวเรือน  ๑  สัญญา  สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนบ้านหนองฮะ ได้ดำเนินงานขับเคลื่อน ตามแนวทาง ๑ ครัวเรือน  ๑  สัญญา  บรรลุตามเป้าหมาย จำนวน  ๑๕  ครัวเรือน  ดังนี้ 

ลำดับที่
รายชื่อผู้เป็นหนี้ ที่เข้าปรับโครงสร้างหนี้เป็น
บ้านเลขที่
ชื่อกลุ่ม/องค์กร/
จำนวนหนี้คงเหลือ
แหล่งกู้ยืมใหม่

1 คร.1 สัญญา
กองทุนการเงิน
รวมทั้งหมดทุกกลุ่ม
ที่ปรับเป็น 1 คร.1 สัญญา
จำนวนเงินที่กู้
(ชื่อ-สกุล)
ที่เป็นหนี้ทุกกลุ่ม
(บาท)
(ระบุชื่อกลุ่ม)
จากแหล่งเงินกู้ใหม่

(ระบุรายชื่อกลุ่ม)


(บาท)
นางอ้อยใจ บุญเกิด
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/กข.คจ
๓๕๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๓๕๐๐๐
นางจิม แก้วจันทร์
๑๘
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์
๕๐๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๕๐๐๐๐
นางรจนาวดี แสงแก้ว
๒๔
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/กข.คจ
๔๔๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๔๔๐๐๐
นายสมาน แก้วจันทร์
๓๐
/ออมทรัพย์/กข.คจ
๙๐๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๙๐๐๐๐
นายสมยงค์ นิยมวงค์
๓๑
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/กข.คจ
๖๘๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๖๘๐๐๐
นางมณี  แสงแก้ว
๓๒/๑
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/กข.คจ
๑๓๒๐๐
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๑๓๒๐๐
นายสูรย์ ทองแท่ง
๓๓/๒
/ออมทรัพย์/กข.คจ
๑๔๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๑๔๐๐๐
นางราตรี หาญภิรมย์
๓๖
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/
๕๘๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๕๘๐๐๐
นายเฉลิม แก้วจันทร์
๔๐
กองทุนหมู่บ้าน/กข.คจ
๑๑๐๐๐
กองทุน กข.คจ
๑๑๐๐๐
๑๐
นางจินตนา แสงแก้ว
๔๑
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/กข.คจ
๑๑๐๐๐
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๑๑๐๐๐
๑๑
นายถนอม  สุขจันทร์
๖๒
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/
๓๘๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๓๘๐๐๐
๑๒
นายคาร อิ่มสมบัติ
๗๓
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/
๓๔๕๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๓๔๕๐๐
๑๓
นายบัวลา  ปักสำราญ
๗๗
กองทุนหมู่บ้าน//กข.คจ
๕๒๕๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๕๒๕๐๐
๑๔
นายสมัย   ยาทะเล
๘๐
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/
๑๖๐๐๐
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
๑๖๐๐๐
๑๕
นางสาวแสงทอง นามวงค์
๘๙
กองทุนหมู่บ้าน/ออมทรัพย์/กข.คจ
๗๒๐๐๐
กองทุนหมู่บ้าน
๗๒๐๐๐
           ๓.๒ กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน  ๓๐  คน ได้ร่วมกันจัดทำแผนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ เพิ่มขึ้น และเกิดการลดรายจ่ายในครัวเรือน  โดยมีแผนงานในการดำเนินงาน  ๓ กิจกรรม  คือ การทอผ้าไหมลายลูกแก้ว   การเรียนรู้การผลิตอาหารวัว  และการผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้เอง  เป็นต้น   ..........................................                    

          x
x

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้