ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การพัฒนากลไกสภาผู้นำชุมชน : การพัฒนาเพื่อนาคต


          การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ เป็นหัวใจหลักที่จะไปให้ถึง เป็นยอดปรารถนาของคนทำงานพัฒนา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  วิธีการนำไปสู่ความสำเร็จนั้น ก็มีหลากหลายแนวทาง ต่างกันที่เข็มมุ่งในการทำงานนั้น  มุ่งเป้าสิ่งใด เดือนนี้ ผู้เขียนมีบทเรียนการพัฒนา อีกแบบหนึ่งที่กำลังขับเคลื่อนหมู่บ้านสู่การเป็นชุมชนต้นแบบ ที่ชุมชนหนองฮะ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการพัฒนา จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ให้ขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ โดยมีหัวใจสำคัญของการทำงาน คือการพัฒนากลไกสภาผู้นำชุมชน ให้เป็นแกนหลัก ในการพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

 
             ชุมชนบ้านหนองฮะ เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง  ที่มีต้นทุนการพัฒนา อย่างหลากหลาย ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่  ทุนทางสังคม  และทุนทางทรัพยากรมนุษย์ เพียงแต่ขาดการเชื่อมโยง ทรัพยากร ให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ปีนี้  นับเป็นโอกาสดีประการหนึ่ง ที่ชุมชนหนองฮะโดยการนำ  ของ นายอุดม  หาญภิรมย์  ผู้ใหญ่บ้านหนองฮะ คนปัจจุบัน  ได้นำชุมชนสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาโครงการ มาแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ ประสบอยู่  โดยชุมชนหนองฮะ ได้ใช้เวทีการเรียนรู้ของชุมชนวิเคราะห์  สถานการณ์ความไม่น่าอยู่ของชุมชน หนองฮะ  พบว่า  มีปัญหาสำคัญ ๆ  ในหลายประเด็นด้วยกัน  ในชุมชนแห่งนี้  ปัญหาการใช้สารเคมีในการผลิต ปัญหาการดื่มสุรา  ปัญหาการสูบบุหรี่ ปัญหาขยะในชุมชน  ชุมชนได้ช่วยกันรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาด้วยเครื่องมือต้นไม้ปัญหา  ที่ช่วยให้มองชุมชนได้แจ่มชัดขึ้น ปัญหาต่างๆ  ถูกนำไปสู่การอภิปรายแบบมีส่วนร่วมของคนหนองฮะ  ให้มองเห็น  ถึงตัวปัญหา  สาเหตุ  และผลกระทบของปัญหา อย่างรอบด้าน  จนในที่สุด  คนหนองฮะ  ได้คัดเลือกปัญหาขยะ  ในชุมชนเป็นสถานการณ์ปัญหาสำคัญและเร่งด่วนที่จะดำเนินงานก่อน  ในปีนี้


          สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ  เป็นกลไกชุมชน  ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา  เป็นแกนกลาง เป็นแกนหลักในการพัฒนาหมู่บ้านหนองฮะ ในทุกๆ  มิติ ในระยะการก่อตัวของสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ ในช่วงแรก ๆ  นั้น  ถือว่ายากพอสมควร  เพราะด้วยลักษณะของชุมชน  ที่เคยชินกับการรับฟังผู้นำมากกว่า  ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการ คิด การแสดงความคิดเห็น  และการตัดสินใจ ร่วมกัน  ในระยะแรกสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ  จะเห็นว่า  มีคนทำงานกลุ่มเดิม ๆ  เท่านั้น  ที่ออกมาทำงาน เมื่อแนวคิดสภาผู้นำชุมชนได้รับการออกแบบ และ ขยายผลออกไป ปรากฏว่า มีแนวร่วมเพิ่มขึ้น กิจกรรมการขับเคลื่อนงานประเด็นแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน ดำเนินไปด้วยความคึกคัก ผู้คนหน้าใหม่ ๆ  ออกมามีส่วนร่วมในเนื้องานของชุมชนเพิ่มขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ จากการทำงานร่วมกันในครั้งนี้


          นายอุดม  หาญภิรมย์   ผู้ใหญ่บ้านหนองฮะ  ในฐานะประธานสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ  กล่าวว่า  การขับเคลื่อนงานของสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ ในการทำงานจัดการขยะ ได้รับการตอบรับจากชุมชน เป็นอย่างดี  ถือเป็นประวัติศาสตร์ของชุมชนหนองฮะ เลยก็ว่าได้  ที่บรรยากาศการทำงานแบบเกื้อกูลกันกลับมาอีกครั้ง  ครอบครัวที่ไม่เคยเข้าร่วมทำงาน  ก็ออกมามากขึ้น  ทำให้คนทำงานมีกำลังใจ  ที่จะร่วมมือกันขับเคลื่อนชุมชนสู่ เป้าหมายร่วมกัน
 
          ด้าน นายโชคอำนวย  บัวธนาหมุ่ยโท รองประธานสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ เล่าว่า  เมื่อวันที่ ๒๓-๒๔-๒๕  กันยายน  ๒๕๖๐  ที่ผ่านมา  ชุมชนบ้านหนองฮะ  ได้มีโอกาสต้อนรับคณะนักวิจัยโครงการวิจัยชุดสัมมาชีพชุมชน โดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ  ได้ประสานขอใช้สถานที่ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหนองฮะ เป็นสถานที่จัดกิจกรรม จำนวน  ๓  วัน  ๒  คืน  กิจกรรมนี้  สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะได้ประชุมปรึกษาหารือกัน  เพื่อวางแผนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และถือว่างานชิ้นนี้  เป็นบททดสอบหนึ่งของชุมชน  ว่าสามารถจัดการได้หรือไม่  ซึ่งสภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ ได้เตรียมการเพื่อจัดการโดยการแบ่งบทบาทหน้าที่คนทำงาน  ทั้งบทบาทของ  วิทยากรกระบวนการ  ทีมจัดการอาหาร  ทีมรักษาความปลอดภัย และสภาผู้นำชุมชนต้นแบบที่พัฒนาไปสู่การเป็นบ้านพักรับรอง โฮมเสตย์  จำนวน  ๑๑  ครอบครัว  รับผู้มาพักค้าง  มากว่า  ๔๐  คน ซึ่งงานนี้ชุมชนบ้านหนองฮะ  ก็สามารถจัดการงานนี้  ออกมาได้อย่างดี  เป็นที่พอใจของ  ผู้มาเยือน  และชุมชนหนองฮะ  ก็ได้รับบทเรียนที่ดี  ในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นชุมชนต้นแบบในอนาคต  


          จากบทบาทที่กล่าวถึงเบื้องต้น  ถือว่า  สภาผู้นำชุมชนบ้านหนองฮะ  ได้ผ่านกระบวนการเพาะบ่มและฝึกฝนตนเอง  ผ่านแบบเรียนที่เป็นจริง เรียกว่าได้บทเรียน เรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติ ซึ่งทิศทางการพัฒนาสภาผู้นำชุมชนที่ก่อตัวมาจากคนหลายๆ ภาคส่วนที่มีจิตอาสาเข้ามาร่วมกันในชุมชน  นับเป็นมุมมองในการพัฒนาบนพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เป็นคนเก่งคนดี ถือเป็นการลุงทุนที่คุ้มค่า  การลงทุนเพื่ออนาคตของชุมชน  อย่างแท้จริง  

              

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำกล่าวตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้

คำกล่าวรายงานในพิธีเปิด ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ...................................... เรียน   นายธวัช   สุวรรณ    นายอำเภอห้วยทับทัน ประธานในพิธีเปิดตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ            ดิฉัน นางสุขใจ   จินดาพล    พัฒนาการอำเภอห้วยทับทัน   ในนามคณะกรรมการตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ     การจัดงานตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ให้ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน   เป็นประเทศพัฒนา ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ   ประกอบกับนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่   ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดชุมชน เพื่อให้เกษตรกรผู้มีรายได้ร้อยในชุมชน รวมทั้งผู้ประกอบการที่เดือนร้อนจากการไม่มีสถานที่จำหน่าย ได้ม

การทำนาโยน ครั้งแรกในชีวิต

วันนี้ มีสหายท่าน หนึ่ง ได้มา ไถ่ถาม ถึงกระบวนการทำนาโยน ว่าทำอย่างไรบ้าง ซึ่งท่านเอง ก็สนใจอยากทดลอง ทำนา โยน บ้าง สิ่งนี้ จึงเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผม มีความรู้สึก อยากจัดระบบ ความรู้ เรื่องวิธีการทำนา โยน และขั้นตอน ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่ผมเคยลงมือทำ  ซึ่งต้องยอมรับว่า การทำนาโยนครั้งแรกในชีวิต มันอยู่ที่ใจอยู่ที่การตัดสินใจ ของเราว่ากล้า ที่จะลอง  สิ่งใหม่ ๆ หรือไม่  และในกระบวนการตัดสินใจ ที่ว่านั้น  ระบบข้อมูล  นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ถ้าข้อมูลเพียงพอ  ก็  จะทำให้เราสบายใจ  และกล้าลงมือ   ทำ   จริงมั้ยครับ   สำหรับอุปกรณ์ในการทำนาโยน นั้น ประกอบด้วย   (๑) ถาดเพาะกล้านาโยน ซึ่งมีร้านจำหน่ายถาดเพาะกล้าชนิดนี้ ปกติ จะมีหลุมเพาะจำนวน  ๔๓๔  หลุม   (๒) ดินสำหรับเพาะกล้า  เป็นดินที่ร่อน ละเอียด ไม่จับเป็นก้อน ส่วนใหญ่ นิยมใช้ดินเหนียว เพราะจะช่วยให้ดินจับกันเป็นตุ้มดิน และนำกล้าออกจากถาด  ได้ง่าย   (๓) ปุ๋ยขี้วัว  ขี้ควาย  ที่ผ่านการร่อน  อย่างดี    (๔) พันธุ์ข้าว  ที่เราแช่น้ำ  บ่มไว้จน  รากงอก   ในขั้นตอน  นี้ การเตรียมกล้านาโยน  ส่วนใหญ่ 

ผ้าไหมเก็บบ้านเมืองหลวง อัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาของชุมชน

ในฐานะนักพัฒนา ที่คลุกคลีกับชุมชนหมู่บ้าน ตามเนื้องานที่ทำอยู่ หากให้กล่าวถึงหมู่บ้านที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมชุมชน และอัตลักษณ์ชุมชนที่โดดเด่น แน่นอนว่า บ้านเมืองหลวงคือหนึ่งในหมู่บ้านที่มี ความครบถ้วน และโดดเด่น ผมทำงานร่วมกับชุมชนบ้านเมืองหลวงมาระยะหนึ่ง และมีความสุขทุกครั้งที่ได้เข้ามาขับเคลื่อนกับแกนนำชุมชนที่นี่   ใครมาที่นี่อาจหลงเสน่ห์บ้านเมืองหลวง ได้ง่ายๆ บ้านเมืองหลวงเป็นชุมชนเก่าแก่ ที่มีความเป็นมา มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน   มีร่องรอยอารยธรรมโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น การมีคูคลองล้อมรอบชุมชน ตามแบบฉบับชุมชนโบราณ การมีหอระฆังที่ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง เหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจร่วมกัน            การทอผ้าไหมก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ผู้คนที่นี่ ได้สืบสานสืบทอดภูมิปัญญา การทอผ้าไหมจากรุ่นสู่รุ่น แต่ละครัวเรือน เริ่มกระบวนการตั้งแต่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนถึงการได้เส้นไหมพื้นบ้านที่มี ที่มีคุณสมบัติแห่งความเงางามและนุ่มน่าสวมใส่ ผ่านกระบวนการผลิตที่ทอด้วยมือ ด้วยภูมิปัญญา กว่าจะได้ผืนผ้ามาสักผืน ผู้ทอต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานด้